จุดเด่นและข้อแตกต่างระหว่าง “OEM” และ “ODM”

โรงงาน OEM และ ODM

ในยุคสมัยปัจจุบัน คำกล่าวที่ว่า “ไม่ว่าใครก็มีแบรนด์เป็นของตัวเองได้” ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงแต่อย่างใด แต่เป็นคำกล่าวที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่เราต่างเห็นทั้งคนมีชื่อเสียง และคนหน้าใหม่ ๆ พากันเปิดแบรนด์เป็นของตัวเอง ตั้งแต่แบรนด์สกินแคร์ เครื่องสำอาง เสื้อผ้า อาหารเสริม ไปจนถึงสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ อย่างเครื่องจักรในโรงงาน
และเมื่อเริ่มมีความคิดที่จะทำแบรนด์ หรือมีสินค้าเป็นของตัวเอง สิ่งหนึ่งที่เหล่าเจ้าของแบรนด์ต่างก็พากันมองหานั่นก็คือ “โรงงาน” ที่ได้คุณภาพ เชื่อถือได้ และตอบโจทย์ความต้องการในการผลิตสินค้าของเจ้าของแบรนด์ แต่ทว่าในปัจจุบัน หากเราพิมพ์คำว่า “โรงงาน” แล้วกดปุ่มค้นหาแล้วล่ะก็ เราก็จะพบกับ 2 คำที่ห้อยพ่วงติดมาด้วย นั่นก็คือคำว่า “โรงงาน OEM” และ “โรงงาน ODM” นั่นเอง

โรงงาน OEM และ ODM

แต่ถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนอาจจะได้เห็นตัวย่อทั้ง 2 แบบนี้บ่อยแล้ว โดยเฉพาะเจ้าของแบรนด์หรือเหล่าคนมีฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจที่คงจะต้องเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานกันจนตาลาย ในบทความนี้ เราจึงจะมาเทียบจุดเด่นและข้อแตกต่างระหว่าง โรงงาน OEM และ โรงงาน ODM ให้เห็นกันชัด ๆ ที่แค่อ่านบทความนี้จบ ก็สามารถเข้าใจถึงความแตกต่างของทั้ง 2 อย่างนี้ได้อย่างถ่องแท้


1. โรงงาน OEM และ โรงงาน ODM คืออะไร?

โรงงาน OEM หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Original Equipment Manufacturer คือ โรงงานที่ผลิตและออกแบบสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามสูตรหรือความต้องการของลูกค้า หลังจากนั้นลูกค้าจึงจะเอาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิตกับโรงงาน OEM ไปขายภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเอง

โรงงาน OEM และ ODM

ในขณะที่โรงงาน OEM รับผลิตผลิตภัณฑ์ตามสูตรหรือความต้องการของลูกค้า โรงงาน ODM หรือชื่อเต็มว่า Original Design Manufacturer จะเป็นโรงงานที่มีรูปแบบการนำสูตรของโรงงานมาวิจัย พัฒนา ทดลอง และทำการทดสอบจนกว่าผลิตภัณฑ์จะครบทั้งทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในท้องตลาดอีกด้วย


2. ข้อแตกต่างระหว่างโรงงาน OEM และ โรงงาน ODM

หลังจากที่เราได้รู้จักกับทั้งโรงงาน OEM และ โรงงาน ODM กันไปแล้ว ในหัวข้อนี้ เราจึงจะมาดูถึงข้อแตกต่างระหว่างโรงงานทั้ง 2 แบบนี้กันบ้าง ว่าแต่ละโรงงานนั้นแตกต่างกันยังไง ? มีจุดเด่นอยู่ที่ตรงไหน ? และหากเราเป็นเจ้าของแบรนด์ ควรเลือกใช้บริการโรงงานแบบไหน จึงจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการในการผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตรงใจที่สุด ?
โดยข้อแตกต่างของทั้ง 2 โรงงานนี้ คือการที่โรงงาน OEM จะรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีสูตรสำเร็จมาให้พร้อมผลิตเพียงอย่างเดียว ในขณะที่โรงงาน ODM จะนำสูตรของโรงงานมาผลิตผลิตภัณฑ์ พัฒนา ทดสอบ จนได้สูตรของสินค้าที่มีความโดดเด่น เป็นสูตรเฉพาะตัวของแบรนด์ และยังมีการทดสอบจนกว่าจะมั่นใจว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

โรงงาน OEM และ ODM

กล่าวคือ หากเจ้าของแบรนด์มีสูตรของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการวิจัยและมั่นใจว่าพร้อมใช้งาน เพียงแต่กำลังมองหาโรงงานที่รับผลิตผลิตภัณฑ์เท่านั้น ก็ให้เจ้าของแบรนด์ถือสูตรและเดินเข้าโรงงาน OEM ได้เลย แต่หากว่าเจ้าของแบรนด์มีเพียงไอเดีย แต่ยังไม่มีสูตรของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และกำลังมองหาโรงงานที่ทั้งช่วยคิดและช่วยผลิต ก็ให้เจ้าของแบรนด์เลือกเดินเข้าโรงงาน ODM นั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของโรงงาน OEM และ ODM

เมื่อรู้ถึงข้อแตกต่างระหว่างทั้ง 2 โรงงาน อีกหนึ่งจุดที่เจ้าของแบรนด์ต้องคำนึงก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบโรงงานที่เหมาะกับสินค้าตัวเองนั่นก็คือ ข้อดีและข้อเสียของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน OEM หรือ โรงงาน ODM เนื่องจากการพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียให้ถี่ถ้วนก่อนทุกการตัดสินใจเป็นการกระทำที่เจ้าของแบรนด์ควรทำ เนื่องจากควรมีการคิดไตร่ตรองให้ครบทุกด้าน ไปจนถึงเรื่องต้นทุนและกำไรหลังวางขายผลิตภัณฑ์

โรงงาน OEM และ ODM

-ข้อดีและข้อเสียของโรงงาน OEM

ข้อดี

  • ไม่ต้องลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตเป็นของแบรนด์
  • ได้โรงงานที่เชี่ยวชาญทั้งด้านความรู้ เทคนิค และเครื่องมือ เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้
  • ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงทางการผลิต
  • สินค้ามีความแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร เนื่องจากเป็นสูตรจากเจ้าของแบรนด์โดยตรง

ข้อเสีย

  • ใช้เวลามากกว่าโรงงาน ODM เนื่องจากโรงงานต้องใช้เวลาในการพัฒนาสูตร
  • หากต้องการบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ไม่ซ้ำกับบรรจุภัณฑ์มาตรฐานที่โรงงานมีให้ ก็จะต้องเพิ่มต้นทุนในด้านบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม


-ข้อดีและข้อเสียของโรงงาน ODM

ข้อดี

  • ไม่ต้องลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตเป็นของแบรนด์
  • สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากโรงงานมีสูตรมาตรฐานอยู่แล้ว
  • ใช้ต้นทุนในการผลิตน้อยกว่า
  • ได้โรงงานที่เชี่ยวชาญทั้งด้านความรู้ เทคนิค และเครื่องมือ เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้
  • ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงทางการผลิต
  • สามารถย้ายฐานการผลิต หรือย้ายโรงงานได้ในระหว่างขั้นตอนการผลิต
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน

ข้อเสีย

  • มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าโรงงานผลิตแบบ OEM
  • มีต้นทุนด้านค่าบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อรองรับสินค้าที่ถูกออกแบบขึ้นมาใหม่
  • ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์
โรงงาน OEM และ ODM

เมื่อเทียบจุดเด่นและจุดด้อยของทั้ง 2 โรงงานแล้ว เราจะเห็นว่าโรงงานทั้ง 2 แบบจะมีความเหมือนและความแตกต่างกันในบางจุด แต่สิ่งที่สำคัญไปมากกว่าการเลือกโรงงานที่ตอบโจทย์ความต้องการในการผลิตของเรา นั่นก็คือการเลือกโรงงานที่มีมาตรฐานการผลิตที่ผ่านมาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษา มีสัญญาการผลิตที่ชัดเจน ไม่มีประวัติเสียหาย และมี Supplier ที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะเมื่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิตคือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ ต้องการความปลอดภัยและมาตรฐานสูง หรือต้องการนำไปใช้โรงงานขนาดใหญ่ที่มีความปลอดภัยของผู้ร่วมงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น เครื่องจักร หรือ เครื่องมือแพทย์


เมื่อคำนึงที่ความต้องการ และมาตรฐานที่ต้องการจากโรงงานได้ครบถ้วน สมบูรณ์แล้ว ก็สามารถเลือกใช้บริการโรงงานที่ต้องการ และเตรียมรอรับผลิตภัณฑ์มาวางขายในท้องตลาดได้เลย


ข่าวดีสำหรับเหล่าว่าที่เจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาโรงงาน OEM ก็ไม่ต้องมองหาไปที่อื่นให้ยุ่งยาก เพราะสามารถนำไอเดียและผลิตภัณฑ์เดินตบเท้าเข้ามาผลิตที่ C.C.Autoparts ได้เลย ! หรือถ้ายังไม่กล้าตัดสินใจ ก็สามารถแวะเข้ามาขอคำปรึกษาเราก่อนได้เช่นกัน เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาทั้งก่อนและตลอดระยะเวลาการผลิต มั่นใจได้ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงสเป็ก คุณภาพดีกว่าใครในท้องตลาด และเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการเริ่มต้นธุรกิจของทุกคนได้แน่นอน !

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

“ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า” นวัตกรรมที่มาพร้อมเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ !

อุปกรณ์ทางการแพทย์

เผยเคล็ดลับ ! ทำไม “อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย” ถึงไม่แพ้ชาติอื่น

4 แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ต่อภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย